จุดเด่นของ blog

1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น http://www.terrystrek.com/
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง

จุดด้อยของ blog

1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhow

- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น

- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงามให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง

- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน มีการให้ “รางวัลสุดคะนึง” ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เขียนบล็อกประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้

- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่


สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน

เชิงบวก
-ประสบการณ์ตรงจากการเดินทาง สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ของบุคคลในแต่ละจังหวัด
-การวิเคราะห์เลือกซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ แนวทางในการเลือกซื้อ ค้นหา ต่อรองราคา
-ความรู้จากโรงเรียนอนุบาลหนองคาย หลักการสำคัญในมุมมองส่วนตัวคือ
1.แนวคิดของความเป็นเจ้าของโรงเรียนของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน
2.แนวคิดของการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3.แนวคิดของความรับผิดชอบ วัฒนธรรม องค์กรของสถานศึกษา
4.แนวคิดของขวัญกำลังใจของครูภายในโรงเรียน ที่เกิดจากความสามัคคี ความรัก การเอาใจใส่ดูแลและช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง
-ความสามารถในกระบวนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความเข้าใจ และความรู้ความสามารถ
-วัฒนธรรมของผู้นำเที่ยว (ไกด์)มารยาท การนำเสนอข้อมูล ที่มีศักยภาพ
-ความศรัทธาพระพุทธศาสนาของศาสนิกชนไทย



เชิงลบ
-มารยาทในสังคมส่วนรวมของบุคลากร
-มารยาทของบุคคลที่ควรจะปฏิบัติในองค์รวม ภาพพจน์ของผู้บริหาร
-มารยาทในการนำเสนอ การพูดที่ขาดความรับผิดชอบ การพูดเพ้อเจ้อ ยกย่องตัวเองจนลืมภาพรวมของกลุ่มที่ร่วมเดินทาง
-ความพอดีในเรื่องของอบายมุข มารยาทของผู้บริหารที่พีงมีพึงกระทำ
-วัตถุประสงค์ของการดูงานนอกสถานที่ การหลงประเด็น
ทั้งประสบการณ์เชิงบวกและเชิงลบในความรู้สึกถือเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ๋และหาซื้อไม่ได้ในฉากชีวิตจริงซึ่งไม่ไช่การแสดงละคร
...ขอบคุณที่ติดตามอ่าน ลองวิเคราะห์คิดด้วยความรุ้สึกที่เป็นมัชฌิมาปฏิทา...



-การพิจารณาเกรด ตามศักยภาพดุยพินิจและชีวิตจริง ไม่ชอบการยกยอปอปั้น การประจบสอพลอที่ไม่
จริงใจและก็ไม่ชอบทำตัวเป็นพวกช่างขอ...โดยไร้คุณภาพ
การเรียกใช้โปรแกรม SPSS For Windows
มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 12.0 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows ถ้าปรากฏหน้าจอ What would you like to do? ให้คลิกสี่เหลี่ยมด้านล่างซ้ายให้มีเครื่องหมายถูก แล้วคลิกปุ่ม OK คลิกปุ่ม Cancel

เกี่ยวกับโปรแกรม SPSS For Windows
ส่วนประกอบหลักของ
SPSS FOR WINDOWS
-Title Bar บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน
--Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้า้งตัวแปร
--Data View
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน


การป้อนข้อมูลจากหน้าจอ data
ขั้นตอน
1. เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
2. กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ Variable View
3. ป้ิอนข้อมูล Data View
4. บันทึกข้อมูล
File -> Save

ให้หน้าจอ data แสดงภาษาไทย
มีขั้นตอนดังนี้
View -> Fonts
เลือก Font และ Size ตามต้องการ
คลิก Ok
หมายเหตุ
Font ไทยส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย UPC

กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรจากหน้าจอ Variable View
มีขั้นตอนดังนี้
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร
เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์
ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3
ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
7.1 Scale (Interval, Ratio)
7.2 Ordinal
7.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว


ป้อนข้อนข้อมูลจาก Data View
ขั้นตอน หน้าต่าง Data View
Data View เป็นแบบตาราง การป้อนข้อมูลจะคล้ายกับ Excel
บรรทัดแรก จะเป็นชื่อตัวแปร
บรรทัดต่อไป จะเป็นข้อมูล ดูจำนวนข้อมูล
ไปรายการสุดท้าย กดปุ่ม Ctrl+End
กลับไปรายการแรก กดปุ่ม Ctrl+Home
การ Show Label (View -> Value Labels)

การสร้างแบบสอบถามเป็นวิธีอีกวิธีหนึ่ง
ที่ใช้สำรวจ ในการทำวิจัยหรือทำโพล
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายในการสำรวจ
ตัวอย่างแบบสอบถาม
แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆ 3 หัวข้อ
1. เพศ
ชาย | หญิง
2. สาขาวิชา
--เทคโนโลยีและการสื่อสาร
--อุตสาหกรรม
--จิตวิทยา
--ภาษาไทย
--ภาษาอังกฤษ
--บริหารการศึกษา
3. ระดับความคิดเห็น
แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
5 = พึงพอใจมากที่สุด
4 = พึงพอใจมาก
3 = พึงพอใจปานกลาง
2 = พึงพอใจน้อย
1 = ไม่พึงพอใจ

การกำหนดตัวแปร
หลักการ
1. การกำหนดชื่อ (Name) กำหนดดังนี้
ข้อ 1 เพศ = Sex
ข้อ 2 สาขาวิชา = Major
ข้อ 3 ระดับความคิดเห็น
ข้อ 3.1 = Topic1
ข้อ 3.2 = Topic2
ข้อ 3.3 = Topic3
ข้อ 3.4 = Topic4
ข้อ 3.5 = Topic5
2. กำหนดค่าตัวแปร (Value) ดังต่อไปนี้
Sex มีได้ 2 ค่าคือ ชาย, หญิง
Major มี 6 ค่าคือ
เทคโนโลยีและการสื่อสาร
อุตสาหกรรม
จิตวิทยา
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
บริหารการศึกษา
Topic 1,Topic 2,Topic 3,
Topic 4,Topic 5
มีค่าตัวแปรที่เหมือนกัน 5 ค่าคือ
พึงพอใจมากที่สุด
พึงพอใจมาก
พึงพอใจปานกลาง
พึงพอใจน้อย
ไม่พึงพอใจ
3. กำหนดมาตราในการวัด (Measure)
Sex = Norminal
Major = Norminal
Topic 1,Topic 2,Topic 3,Topic 4,Topic 5 = Ordinal

การกำหนดตัวแปร SEX
มีขั้นตอนดังนี้ (อยู่ในหน้าต่าง Variable View)
1.Name กำหนดว่า Sex
2. Type ให้กำหนดเป็น String
โดยคลิกที่ปุ่มสีเทา แล้ว เลือกที่ String
แล้วกด Ok
3. Width และ Decimals ไม่ต้องกำหนดส่วน Lable ให้กำหนดเป็น Sex Lable นี้จะแสดงผลในกราฟเมื่อเราเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล
4. Value ให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นจะพบกรอบ Value Lable
ในช่อง Value กำหนดเป็น 1 และ Value Lable กำหนดเป็นชาย แล้วกดปุ่ม Add
จากนั้นกำหนดเพิ่ม Value เป็น 2 และ Value Lable เป็นหญิง แล้วคลิกปุ่ม Add เช่นกัน เรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Ok ดังภาพ ส่วน Missing, Columns, และ Align ไม่ต้องกำหนด
5. Measure ให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นเลือก Norminal

การกำหนดตัวแปร Major
มีขั้นตอนดังนี้ (อยู่ในหน้าต่าง Variable View)
1. Name กำหนดว่า Major
2. Type ให้กำหนดเป็น string โดยการคลิกที่ปุ่มสีเทา แล้ว String จากนั้นกดปุ่ม OK
3. Width และ Decimals ไม่ต้องกำหนดส่วน Lable ให้กำหนดเป็น Major Lable นี้จะแสดงผลในกราฟเมื่อเราเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล
4. ขั้นตอนกำหนด Value นี้เราจะกำหนดเป็นตัวเลขแทนชื่อสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้
1 = เทคโนโลยีและการสื่อสาร
2 = อุตสาหกรรม
3 = จิตวิทยา
4 = ภาษาไทย
5 = ภาษาอังกฤษ
6 = บริหารการศึกษา
จากนั้นเราก็จะกำหนดลงไปในช่อง Value โดยให้คลิกที่ปุ่มสีเทา แล้วจะพบกรอบ Value Lable และทำตามขั้นตอนดังนี้
ช่อง Value กำหนดเป็น 1 และ Value Lable กำหนดเป็นเทคโนโลยีและการสื่อสาร แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 2 และ Value Lable กำหนดเป็นอุตสาหกรรม แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 3และ Value Lable กำหนดเป็นจิตวิทยา แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 4และ Value Lable กำหนดเป็นภาษาไทย แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 5และ Value Lable กำหนดเป็นภาษาอังกฤษ แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 6และ Value Lable กำหนดเป็นบริหารการศึกษา แล้วกดปุ่ม Add
5. Measure ให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นเลือก Norminal


การกำหนดตัวแปร Topic


มีขั้นตอนดังนี้ (อยู่ในหน้าต่าง Variable View)
1. ในช่อง Name กำหนดเป็น Topic1 Topic2, Topic3, Topic4 และ Topic5 ลำดับ
2. Type ให้กำหนดเป็น Numeric โดยการคลิกที่ปุ่มสีเทาแล้วเลือก Numeric จากนั้นกดปุ่ม OK
ส่วนตังแปรชุดที่ 4 ถึง 5 ก็กำหนดเป็น Numeric
3. ในชุดตัวแปร 3 ถึง 7 Lable ให้กำหนดเป็น Topic1, Topic2, Topic3, Topic4 และ Topic5 ตามลำดับ ส่วน Width และ Decimals ไม่ต้องกำหนด
4. ขั้นตอนกำหนด Value นี้เราจะกำหนดเป็นตัวเลขแทนค่าระดับความพึ่งพอใจในข้อคำถามต่างๆ ดังนี้
ค่าตัวแปรของตัวแปรชุดที่ 3 ถึง 7มีดังนี้
พึ่งพอใจมากที่สุด
พึ่งพอใจมาก
พึ่งพอใจปานกลาง
พึ่งพอใจน้อย
ไม่พึ่งพอใจ
และเราได้กำหนดค่า Value Lable โดยใช้ตัวเลขแทนดังนี้
5 = พึ่งพอใจมากที่สุด
4 = พึ่งพอใจมาก
3 = พึ่งพอใจปานกลาง
2 = พึ่งพอใจน้อย
1 = ไม่พึ่งพอใจ
จากนั้นเราก็จะกำหนดลงไปในช่อง Value โดยให้คลิกที่ปุ่มสีเทา แล้วจะพบกรอบ Value Lable และทำตามขั้นตอนดังนี้
ช่อง Value กำหนดเป็น 5 และ Value Lable กำหนดเป็น พึ่งพอใจมากที่สุด แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 4 และ Value Lable กำหนดเป็น พึ่งพอใจมาก แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 3 และ Value Lable กำหนดเป็น พึ่งพอใจปานกลาง แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 2 และ Value Lable กำหนดเป็น พึ่งพอใจน้อย แล้วกดปุ่ม Add
ช่อง Value กำหนดเป็น 1 และ Value Lable กำหนดเป็น ไม่พึ่งพอใจ แล้วกดปุ่ม Add
5. Measure ให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นเลือก Ordinal


Data Entry
Data ที่เราจะ Entry ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม และทำการลงคะแนนตัวแปรของแต่ละชุดข้อมูลไว้บนแบบลงคะแนน


การป้อนข้อมูลลง Data Editer
ขั้นตอน (ในหน้าต่าง Data View)
1. คลิกที่ Data View
2.จากนั้นเราก็จะได้ส่วนนำเข้าข้อมูล Data Entry ที่มีหัวตารางเป็นไปตามที่เราได้กำหนดตัวแปรไว้แล้ว ในส่วนนี้เราสามารถทำการนำเข้าข้อมูล Data Entry ตามตารางข้อมูลข้างต้นได้เลย
3. เรียบร้อยแล้วเราก็ทำการ Save ข้อมูลโดยการกดคลิกที่ปุ่ม Save จะได้กรอบ Save data
กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น sav



การวิเคราะห์ข้อมูล


มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum
เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts
ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จ
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies 2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล 3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร 4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics 5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continueเมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics 6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue 7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จ
1. ความหมายลักษณะการเป็นมืออาชีพ หมายถึง การทำงานด้วยความรู้ความสามารถ ความตั้งใจจริงและทำงานให้เกิดผลงานดีที่สุด มืออาชีพจะมีลักษณะ ดังนี้
1) มีการให้บริการสังคมไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่นนั้นคือ มีความรู้ความชำนาญพิเศษเฉพาะอาชีพนั้นๆ
2) ใช้วิธีการแห่งปัญญา มืออาชีพทำงานโดยใช้สมองเป็นหลัก ใช้ความรู้เป็นหลักในการทำงาน
3) มีอิสระในการดำเนินงาน มืออาชีพมีสิทธิ์จะทำงานของตนเองโดยอิสระ รับผิดชอบได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมผู้อื่นมากนัก ทำงานเพื่อให้เกิดผลงานเป็นหลัก
4) ผู้ประกอบวิชาชีพผ่านการศึกษาระดับสูงโดยปกติมืออาชีพต้องเรียนนานมักจบปริญญาตรีอย่างต่ำ
5) มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ มืออาชีพต้องรักษาความรับผิดชอบและจริยธรรมของอาชีพของตนอย่างเคร่งครัด
6) มีความมั่นคง มีสถาบันวิชาชีพ มืออาชีพมักทำงานแล้วได้รายได้ดี มีรายได้สูงมีศักดิ์ศรีในสังคม
2. คุณลักษณะของการเป็นมืออาชีพ ผู้ประกอบอาชีพมืออาชีพต้องมีแนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
1) ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ตรงต่อเวลา
2) เป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความกล้าหาญ รับผิดชอบ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
3) สุภาพ ตรงต่อเวลา ละเอียดลออ รู้จักแสวงหากัลยาณมิตร
4) ใช้คุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำอาชีพ
5) ฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
3. นักบริหารมืออาชีพ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน กิจการต่างๆให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ลักษณะเด่นของผู้บริหารมืออาชีพมีดังนี้
1) มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์
2) มีการตัดสินใจที่ดี รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
3) สามารถจับประเด็นได้รวดเร็ว ออกความเห็นได้ทันการ
4) สามารถเลือกใช้คนได้เหมาะสมกับงาน
5) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงพร้อมที่จะปรับตัว
6) มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ เคร่งครัดเรื่องเวลา
7) ซื่อสัตย์มีคุณธรรม ยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพ
8) เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานได้เยี่ยม
4. คุณลักษณะของนักบริหารมืออาชีพ
4.1 นักบริหารมืออาชีพต้องมีคุณลักษณะภายในตนที่สามารถปลูกฝังและฝึกได้หลายประการดังต่อไปนี้
1) มีวิสัยทัศน์ มีสายตาที่ยาวไกล ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
2) ตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างสูงสุด
3) ทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จมากกว่ามุ่งกระบวนการ
4) มองปัญหาชัดใช้ปัญญาในการการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ
5) เป็นผู้มีศิลปในการประนีประนอม
6) การทำงานเป็นทีม
4.2 ต้องมีความเป็นผู้นำ โดยคุณสมบัติผู้นำที่ดีควรมี ดังนี้
1) เป็นผู้มีความคิดกว้างไกลและลึก
2) มีความสามารถในด้านการใช้ภาษา
3) มีความคิดริเริ่ม
4) เป็นคนที่ฉลาด
5) มีความสำเร็จในด้านวิชาการและด้านบริหาร
6) มีความรับผิดชอบ
7) ความอดทน
8) ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมได้
9) มีระดับจิตใจสูง
4.3 คุณลักษณะของการเป็นผู้นำตามแนวคิดของนักวิชาการชาวไทย
1) ลักษณะท่าทาง
2) ความกล้าหาญ
3) ความเด็ดขาด
4) ความไว้วางใจ
5) ความอดทน
6) ความกระตือรือร้น
7) ความริเริ่ม
8) ความซื่อสัตย์
9) ดุลยพินิจ
10) ความยุติธรรม
11) ความรู้
12) ความจงรักภักดี
13) ความแนบเนียน
14) ความไม่เห็นแก่ตัว
5. ลักษณะเด่นของผู้บริหารคนสำคัญที่ประสบผลสำเร็จ เช่น
5.1 นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มีคุณลักษณะเด่นคือ
1) มีวิสัยทัศน์ (Vision)
2) ตรงไปตรงมา (Frankness)
3) ทำงานโดยมุ่งสู่ผล
4) กล้าตัดสินใจ
5) ประนีประนอม
6) สปิริตแห่งการทำงานเป็นทีม
7) ภาวะผู้นำ
8) โปร่งใส
9) มียุทธวิธี