คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนสูง มีประสบการณ์ส่วนตัวในการใช้คอมพิวเตอร์ดีมาก สามารถนำไปใช้ในการประกอบกิจการในการจัดการงาน ตามกระบวนการต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความคาดหวังในการสอนของนักศึกษา อาจารย์ตั้งความหวังไว้สูง ในความสามารถด้านนวัตกรรมสารสนเทศของผู้บริหาร อยากจะเรียนนำเสนออาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนให้อาจารย์วิเคราะห์พื้นฐานของนักศึกษาในภาพรวม หาค่าเฉลี่ยเหมือน SPSS ที่อาจารย์สอนครั้งล่าสุด อธิบาย ชี้แจง ปฏิบัติให้ดู และให้ปฏิบัติตามช้าๆอย่างต่อเนื่อง กระบวนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นปฏิบัติตามได้ มีร่องรอยตกผลึกในความเข้าใจในการปฏิบัติ ขอบคุณที่ให้แนวความรู้ ความคิด ก็จะนำสิ่งต่างๆที่อาจารย์สอนไปฝึกปฏิบัติ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการทำความเข้าใจ แต่ก็จะพยายามเรียนรู้ต่อไป ขอให้อาจารย์มีความสุขกับการทำงานครับผม
Happy New Year 2010


ประวัติส่วนตัว
ก.นายสมบูรณ์ ยินดีรักษ์ อายุปัจจุบัน 51 ปี 1 เดือน 8 วัน
ตำแหน่ง ครู คศ.3 วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง
ข.การศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(มศ.3)โรงเรียนดรุณศึกษา อำเภอร่อนพิบูลย์ (พ.ศ.2515)
ระดับอนุปริญญา ปกศ.สูง วิทยาลัยครูสงขลา (พ.ศ.2522)
ระดับปริญญาตรี ศศ.บ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ.2527)
ระดับปริญญาโท ศศ.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2547)
ปัจจุบันกำลังศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความสามารถพิเศษ
-วิทยากรบรรยายจริยศึกษา การดำเนินชีวิตและอื่นๆสำหรับนักเรียน นักศึกษา
-วิทยากรบรรยายหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดผล สำหรับครูอาจารย์
-พิธีกรงานทั่วไป
ใบงานที่ 8

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย ดังนี้
 สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
 สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
 สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
 ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
 ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน
 มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
- สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
- สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
- เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
- สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
 มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
- เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง

- สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร

 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
 ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

 สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร

 T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
 F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
 T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง
สถานที่ตั้ง ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวคิดด้านอาคารสถานที่
1.จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT เพิ่มขึ้น
2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับผู้รับบริการ
แนวคิดด้านบุคลากร
1.จัดอบรมครูบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ด้านสื่อ คอมพิวเตอร์
2.พัฒนาบุคลากรดูแล ซ่อมแซม แก้ไขขั้นพื้นฐาน
3.พัฒนาคุณภาพของบุคลากรโดยการเข้ารับการอบรมเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพด้าน ICT
แนวคิดด้านการให้บริการ
1.จัดตารางการใช้ศูนย์การเรียนรู้ ICT
2.จัดทำสถิติการเข้าใช้ศูนย์ฯ ปริมาณ ของผู้เข้ารับการบริการ
3.จัดให้บริการบุคคลภายนอก หรือชุมชนในการอบรมให้ความรู้ด้าน ICT
วิสัยทัศน์
ครู บุคลากร สถานศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการจัดการเรียนรู้ และจัดสรรนวัตกรรมในการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของชุมชน
ยุทธศาสตร์
1.การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา ด้านสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ
2.การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้าน ICT พร้อมวัสดุอุปกรณ์
3.การส่งเสริมการแข่งขันด้าน ICT
สรุปความรู้ สัปดาห์ที่ 4 (28 พฤศจิกายน 2552)

อินเตอร์เน็ท : การสืบค้นข้อมูลอย่างหลากหลาย

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

WWW (World Wide Web) คืออะไร
- มีชื่อเรียกหลายแบบ ได้แก่ WWW, W3 หรือ Web
- เป็นระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ต ที่นิยมมากและแพร่หลายที่สุด
- ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่มากมาย ผู้ต้องการใช้สามารถเข้าไปสืบค้นดูเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบมัลติมีเดีย ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
โปรแกรม Internet Explorer-Internet Explorer เป็น Web browser ของบริษัท Microsoft พัฒนามาจาก NCSA Mosaic เช่นเดียวกับ
Netscape Navigator
- มีประสิทธิภาพสูง ใช้ง่าย มีฟังก์ชันการทำงานครบ คล้ายกับโปรแกรม Netscape Navigator
- เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับโปรแกรม Windows
- เป็น Web browser ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
การเปิด Web site ที่ต้องการ
- การไปยังเว็บที่ต้องการ ทำได้หลายวิธี
- คลิกที่ช่อง Address พิมพ์ URL address ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter
- IE จัดเก็บ address ที่เคยติดต่อหลังสุด 15 แห่งไว้ เราสามารถเรียกมาใช้ใหม่ได้จากการคลิกปุ่มสามเหลี่ยมทางขวาของช่อง
Address
- จากเมนู File เลือกคำสั่ง Open พิมพ์ URL address ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter หรือ คลิกปุ่ม Open
Search Engine
- Search Engine เป็นโปรแกรมช่วยค้นข้อมูลบน WWWโดยผู้ใช้กรอกคำ วลี หรือประโยคที่เราต้องการค้น (Keyword)
- มีผู้จัดสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ช่วยค้นสิ่งที่ต้องการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
- ใน search engine จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า crawlers หรือ robots หรือ spider ทำหน้าที่รวบรวม URL ของ
เว็บเพจบน อินเทอร์เน็ต มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตน เมื่อพบเว็บเพจใหม่ ที่ยังไม่มีโดยอัตโนมัติ
- ควรใช้ search engine หลายโปรแกรมร่วมกัน เนื่องจากแต่ละโปรแกรมมีวิธีสืบค้นข้อมูลต่างกัน
การสืบค้นข้อมูลในเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ
- ข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อาจเป็น แฟ้มรูปภาพ แฟ้มภาพเคลื่อนไหว แฟ้มข้อมูลเสียง แฟ้มข้อมูลเอกสารประเภทต่างๆ ได้แก่
เอกสาร HTML เอกสาร Word เอกสาร pdf หรือ แฟ้มข้อมูลประเภทอื่นๆ
- เมื่อผู้ใช้ต้องการค้นข้อมูลเรื่องใด ก็เพียงแต่สร้างการเชื่อมต่อไปยังเว็บของผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) และ
พิมพ์คําสําคัญ (Keyword) ที่ต้องการใช้ในการค้นหา
- โปรแกรมสืบค้นจะทําการตรวจสอบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่และรายงานผลเป็น URL ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตัวอย่างข้อความของเอกสาร
เว็บที่อยู่ใกล้กับคําสําคัญนั้น
ให้นักศึกษาเสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/

www.google.co.th ใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ให้เป็นเว็บภาษาอังกฤษได้ ด้วยการคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website
2. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น
3.สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง
4.ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยให้ใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่เราต้องการค้นหาให้ด้วย
5.ค้นหาเฉพาะกลุ่ม โดยใช้ Special Google Searches เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
6.ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
7.ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle
8.ตรวจสอบราคาหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา
9.สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ
อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3872ac8a53e03acf

2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris

3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x

4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"

7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)

8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ

Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)

วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword

11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย

14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน

16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com )

17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย
อ้างอิง http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=91026.0

3. web ที่ใช้ค้นหาข้อมูลนอกจาก google
ตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหาได้แก่ http://www.yahoo.com, http://www.infoseek.com, http://altavista.com, http://thaiseek.com
อ้างอิง http://www.sa.ac.th/elearning/index33.htm

4. การกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหา โดยใช้ google
ค้นหารูปได้แสนง่าย
ความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google Search ครับ วิธีการใช้ก็คือ
1. คลิกเมนูลิ้งค รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ
- Google ค้นหาไฟล์ได้
Google สามารถค้นหาไฟล์เอกสารที่สำคัญๆ ได้ดังนี้
Adobe Portable Document Format ( ไฟล์นามสกุล . pdf)
Adobe PostScript ( ไฟล์นามสกุล . ps)
Lotus 1-2-3 ( ไฟล์นามสกุล . wk1, .wk2, .wk3, .wk4, .wk5, .wki, .wks และ . wku)
Lotus WordPro ( ไฟล์นามสกุล . lwp)
MacWrite ( ไฟล์นามสกุล . mw)
Microsoft Excel ( ไฟล์นามสกุล . xls)
Microsoft PowerPoint ( ไฟล์นามสกุล . ppt)
Microsoft Word ( ไฟล์นามสกุล . doc)
Microsoft Works ( ไฟล์นามสกุล . wks, .wps, .wdb)
Microsoft Write ( ไฟล์นามสกุล . wri)
Rich Text Format ( ไฟล์นามสกุล . rtf)
Shockwave Flash ( ไฟล์นามสกุล . swf)
Text ( ไฟล์นามสกุล . ans, .txt)
- เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่
เพราะก่อนหน้านี้เว็บไซต์ที่ถูกลบเหล่านั้นได้ถูกบรรจุหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องที่เรียกว่า Cache ของ Google ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เช่น บางลิงค์ที่ผู้ใช้งานคลิกเข้าชมไม่ได้อันเนื่องมาจากถูกลบออกไปแล้ว ผู้งานก็เพียงแต่คลิกที่เมนู หน้าที่ถูกเก็บไว้ ครับ
- ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้
ในบางครั้งเมื่อ Cache จะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาเว็บไซต์นั้นได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดคลิกไปยังเมนู หน้าที่คล้ายกัน ครับ
- Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้
โดยพิมพ์ link: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น link:www.plawan.com เป็นการค้นหาลิงค์ที่เชื่อมมายังเว็บของปลาวาฬดอตคอมเป็นต้น
- Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้
โดยพิมพ์ คำที่ค้นหา site: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น Google Earth site:www.kapook.com ซึ่งเป็นการหาหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Google Earth ในเว็บไซต์ของ Kapook นั่งเองครับ
- ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง
จะวัดดวงค้นหาเว็บไซต์ด้วย Google กันสักครั้งคงไม่เป็นไร เพราะถ้าดวงดีผู้ใช้ก็จะได้ไม่เสียเวลามานั่นเลือกให้เมื่อตุ้มครับ โดยพิมพ์ Keyword สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการจากนั้นคลิกที่ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย
- ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ
ก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือสักเล่ม ผู้ใช้น่าจะทราบก่อนว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง หรือมีโอกาสได้ดูสารบัญของหนั้งสือเล่มนั้นเสียก่อนครับ Google Search สามารถบอกผู้ใช้ได้เพียงใส่ชื่อหนังสือหลังคำว่า books about ชื่อหนังสือ เช่น books about Harry Potter
อ้างอิง http://www.kapook.com/google/search/
1. การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
อ้างอิง http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1134/

2. ขั้นตอนการจัดการความรู้
1) กำหนดประเด็น หมายถึงการกำหนดว่าจะจัดการความ เรื่องใดหรือเรื่องอะไร
2) ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะจัดการความรู้เรื่องนั้นเพื่ออะไร และจะ จัดการให้ได้ผลเพียงใด
3) แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากแหล่งต่าง ๆ
4) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของความรู้ที่ต้องการใช้ว่าเรื่องใดต้องการ ก่อนหลัง
5) ผสมผสานความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีความเหมาะสมโดยอาศัยกระบวนการคิดเป็น กิจกรรมสำคัญ และลงท้ายด้วยการสรุปและตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการให้ได้ผลออกมา
6) ลงมือปฏิบัติการ
7) สังเกตผลจากการปฏิบัติว่าเกิดหรือได้รับสิ่งที่คาดหวังหรือมุ่งหวังหรือไม่ หากได้ผล ตามที่มุ่งหวังก็ดำเนินการทางปฏิบัติต่อไปแต่หากผลไม่ตรงตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องใช้ความรู้เรื่องใดมาใช้ประกอบเพิ่มขึ้นอีกนำมาพิจารณาแล้วตัดสินใจปฏิบัติการอีก
8) แสดงออกต่อผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาว่า พอใจ หรือไม่พอใจ
อ้างอิง http://lib.kru.ac.th/eBook/4000111/doc2-3.html

3.แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้รู้ ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้โดยตรง
2.แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เช่น ข้อมูลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย

อ้างอิง http://www.senpong.ac.th/work/images_upload_answer/200691120241.doc

4.เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
อ้างอิง http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

5.สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในด้านต่างๆ เช่น
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
อ้างอิง http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm
การจัดการ/การบริหาร หมายถึง ความสามารถในการบริหารกระบวนการอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดองค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และการจัดการทรัพยากรในองค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆโดยยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆอันเนื่องมาจากกระบวนการซับซ้อนของการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆทั้งหลายเหล่านั้นมาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาทางการศึกษา

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

ระบบสารสนเทศ หมายถึง เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม การจัดเก็บ (Input) และมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) ผ่านกระบวนการจัดการ (Processing) กับข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง(Output)

ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง แนวทาง หรือวิธีการในการบริหารจัดการด้านบุคลากร (Man) งบประมาณ (Momey) วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) ซึ่งผู้วิจัยออกแบบ เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน

การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ

เครือข่าย หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกัน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร หมายถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ข่าวสาร ภาพ ตัวเลข ซึ่งนำมารวบรวมเข้าด้วยกัน และนำไปเผยแพร่ในรูปต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับ
งานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร


Google ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง

Google คิดเลขได้ เช่น 25+36= แล้วกด Enter (ได้ทั้ง + - * (คู ณ) / (หาร), )
Google คิดเลขยกกำลังได้ เช่น 2^3 เช่นเราอยากรู้ว่า 2 กำลัง 3 ได้เท่ากับเท่าไหร่ พิมพ์ 2 ตามด้วย "^" แล้วก็ 3
Google แปลภาษาได้ เพียงแค่ กด "แปลภาษา" ด้านบนเว็บ หรือพิมพ์ว่า google translate
Google maps อันนี้ เป็น แผนที่ประเทศไทย (มีทั้ง ไทย และ ประเทศอื่นๆ )
Google Gmail หรือ Google Mail เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ

Google ทำให้เราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทุกอย่าง ทุกประเภท