1. การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
อ้างอิง http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1134/
2. ขั้นตอนการจัดการความรู้
1) กำหนดประเด็น หมายถึงการกำหนดว่าจะจัดการความ เรื่องใดหรือเรื่องอะไร
2) ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะจัดการความรู้เรื่องนั้นเพื่ออะไร และจะ จัดการให้ได้ผลเพียงใด
3) แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากแหล่งต่าง ๆ
4) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของความรู้ที่ต้องการใช้ว่าเรื่องใดต้องการ ก่อนหลัง
5) ผสมผสานความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีความเหมาะสมโดยอาศัยกระบวนการคิดเป็น กิจกรรมสำคัญ และลงท้ายด้วยการสรุปและตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการให้ได้ผลออกมา
6) ลงมือปฏิบัติการ
7) สังเกตผลจากการปฏิบัติว่าเกิดหรือได้รับสิ่งที่คาดหวังหรือมุ่งหวังหรือไม่ หากได้ผล ตามที่มุ่งหวังก็ดำเนินการทางปฏิบัติต่อไปแต่หากผลไม่ตรงตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องใช้ความรู้เรื่องใดมาใช้ประกอบเพิ่มขึ้นอีกนำมาพิจารณาแล้วตัดสินใจปฏิบัติการอีก
8) แสดงออกต่อผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาว่า พอใจ หรือไม่พอใจ
อ้างอิง http://lib.kru.ac.th/eBook/4000111/doc2-3.html
3.แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้รู้ ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้โดยตรง
2.แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เช่น ข้อมูลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย
อ้างอิง http://www.senpong.ac.th/work/images_upload_answer/200691120241.doc
4.เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
อ้างอิง http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34
5.สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในด้านต่างๆ เช่น
1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
อ้างอิง http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น