จุดเด่นของ blog

1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น http://www.terrystrek.com/
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง

จุดด้อยของ blog

1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhow

- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น

- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงามให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง

- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน มีการให้ “รางวัลสุดคะนึง” ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เขียนบล็อกประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้

- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่